ผวา! งูบุกกรุง แค่ 7 เดือน เจอแล้วกว่า 2 หมื่นครั้ง งูเหลือม-งูเห่า-งูเขียว มากสุด

ผวา! งูบุกกรุง แค่ 7 เดือน เจอแล้วกว่า 2 หมื่นครั้ง งูเหลือม-งูเห่า-งูเขียว มากสุด

กรุงเทพฯ หลายพื้นที่มีงูชุกชุม โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจะมีเหตุงูเข้าบ้านหลายพื้นที่ สอดคล้องกับสถิติล่าสุดของปีนี้

สัตว์เลี้ยง มีเหตุเกิดขึ้นแล้ว 22,576 ครั้ง หรือเฉลี่ยวันละ 53 ครั้ง หรือชั่วโมงละกว่า 2 ครั้ง ซึ่งพบมากที่สุดในช่วงหน้าฝน ส่วนอีกปัจจัยที่ทำให้งูเข้าบ้าน เพราะมีสัตว์เลี้ยงเช่น แมว ที่เป็นเหยื่อของงูเหลือม ที่แพร่พันธุ์ได้มากในพื้นที่กรุงเทพฯ “จ.ส.ต.ภิญโญ พุกภิญโญ” เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชำนาญการ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า กรุงเทพฯ มีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้น ทำให้งูที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มีปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อม เช่น อาศัยอยู่ในโพรงใต้อาคารทรุดตัว ริมตลิ่ง และบริเวณท่อระบายน้ำ เมื่อน้ำท่วมงูจะหนีน้ำเข้ามาในบ้านคน ประกอบกับแหล่งอาหารตามธรรมชาติหาได้ยากมากขึ้น ทำให้ต้องเข้ามาหาอาหารตามบ้านเรือน โดยช่วงหน้าฝนมีการแจ้งเหตุงูเข้าบ้านมากที่สุด ปี 2564 ได้รับแจ้งเหตุงูเข้าบ้านกว่า 4 หมื่นครั้ง งูที่พบส่วนใหญ่เป็นงูเหลือม 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีการขยายพันธุ์จำนวนมาก ออกไข่ได้ทีละ 30-50 ฟอง เมื่อวางไข่แล้ว แม่งูจะเฝ้าไข่ ทำให้ลูกงูรอดชีวิตระหว่างอยู่ในไข่กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ “งูเหลือมอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ไม่มีสัตว์ชนิดไหนกินมันได้ ขณะเดียวกันงูเหลือมสามารถปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตได้กับทุกสภาพพื้นที่ ทำให้แพร่กระจายพันธุ์ไปได้ทุกพื้นที่ ดังนั้นการควบคุมปริมาณงูเหลือมในกรุงเทพฯ ต้องพยายามจับเพื่อนำไปปล่อยในสถานที่ควบคุมของกรมอุทยานฯ เนื่องจากงูเหลือมเป็นสัตว์คุ้มครอง” ส่วนงูที่จับได้ในกรุงเทพฯ อีก 25 เปอร์เซ็นต์ คือ งูเห่า งูสิง งูทางมะพร้าว และอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นงูต่างถิ่น เช่น งูที่มีคนเลี้ยงไว้หลุดออกมา หรืองูจงอาง ที่ติดมากับรถยนต์ในพื้นที่ต่างจังหวัด เพราะเมื่อจอดรถไว้ในพื้นที่ใกล้กับป่า พอเครื่องยนต์เริ่มอุ่น งูจะเลื้อยเข้าไปหลบซ่อนในซอกรถ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน จะมีงูติดมากับรถยนต์จำนวนมาก พื้นที่กรุงเทพฯ โซนชั้นในงูที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นงูเหลือม เช่น ย่านบรรทัดทอง สยามสแควร์ เขตปทุมวัน ส่วนพื้นที่ชานเมืองจะพบงูเห่ามากที่สุด เช่น ดอนเมือง บางเขน ลาดกระบัง หนองแขม หัวหมาก ลาดพร้าว สำหรับปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฏาคม มีเหตุแจ้งให้ไปจับงูในพื้นที่กรุงเทพฯ รวม 22,576 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 53 ครั้ง โดยยังมีงูเหลือมบุกกรุงมากที่สุดถึง 7,489 ครั้ง ส่วนงูที่มีพิษร้ายอย่างงูเห่า มีถึง 1,034 ครั้ง

ผวา! งูบุกกรุง แค่ 7 เดือน เจอแล้วกว่า 2 หมื่นครั้ง งูเหลือม-งูเห่า-งูเขียว มากสุด

การแก้ปัญหางูเข้าบ้าน สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนสภาพบ้าน โดยเฉพาะโพรงใต้อาคาร ที่มีสภาพชื้นแฉะ งูจะชอบเข้าไปอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว

ควรมีการซ่อมแซมปิดช่องว่าง ส่วนบ้านที่มีช่องระบายอากาศ ควรใส่มุ้งลวดให้มิดชิด หรือนำแผ่นไม้มาปิดทับ ไม่ให้งูเลื้อยผ่านช่องทางนี้ไปได้ เรียนรู้พฤติกรรมงู ปิดจุดเสี่ยงในบ้าน “จ.ส.ต.ภิญโญ” กล่าวว่า การเรียนรู้พฤติกรรมของงูจะช่วยให้คนกรุงเทพฯ มีความเข้าใจและจัดการพื้นที่เสี่ยงภายในบ้านได้ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของงูเห่า จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิม แต่ปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เป็นช่วงที่ลูกงูเห่าออกจากไข่ ทำให้ช่วงนี้มีการแจ้งเหตุพบเห็นลูกงูเห่าจำนวนมาก “บ้านบางหลังกลายเป็นรังในการเพาะพันธุ์งู เพราะไม่ปิดจุดเสี่ยง ทำให้งูเข้าไปทำรังวางไข่ได้ โดยเฉพาะรอยแตกร้าวภายใต้อาคาร จากประสบการณ์เคยมีบ้านหลังนึงจับงูได้ 24 ตัว ภายใน 2 วัน แสดงว่าบ้านหลังนี้เป็นรังของงู แต่ถ้ามีการพบงู ภายในบ้านไม่มาก อาจสันนิษฐานได้ว่า มีรังงูในพื้นที่ข้างเคียง” ช่วงเวลาของการออกหาอาหารของงูแต่ละชนิดจะต่างกัน โดยช่วงเช้าเป็นเวลาของงูสิงและงูทางมะพร้าว ถ้าบ่ายโมงถึงเย็นเป็นช่วงเวลาหาอาหารของงูเห่า ส่วนงูเหลือมจะออกหากินได้ตลอดทั้งวัน อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีงูเข้าบ้าน เพราะมีสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่น แมว ไก่ โดยเฉพาะงูเหลือมจะมีการจดจำพฤติกรรมของเหยื่อ ตัวอย่างเช่น แมว จะไปถ่ายที่เดิมอยู่เป็นประจำ เมื่องูเหลือมที่เฝ้าสังเกตเห็นจะไปซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่นั้น พอเหยื่อมาถึงจะกระโดดงับแมวแล้วใช้ลำตัวพันให้ขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิต ข่าวสัตว์เลี้ยง แล้วค่อยๆ กลืนเหยื่อตั้งแต่ช่วงหัวไปถึงหางสำหรับบ้านที่เลี้ยงแมว ควรเลี้ยงในพื้นที่ปิด ให้อยู่ในสายตาของผู้เลี้ยง หากมีงูเข้าบ้านจะได้ช่วยได้ทัน แต่บางบ้านไม่ได้เลี้ยงแมวแต่มีงูเข้าบ้าน เนื่องจากบ้านข้างๆ อาจเลี้ยงสัตว์ทำให้งูต้องเลื้อยผ่านบ้าน นอกจากนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแมวเร่ร่อนจำนวนมากที่กลายเป็นเหยื่อของงูเหลือม“จากประสบการณ์ งูเหลือมจะจับยากกว่าประเภทอื่น เพราะมีขนาดใหญ่ มีกำลังในการรัดเหยื่อมาก หากคนจับไม่มีความชำนาญ จะถูกรัดได้ ส่วนงูพิษ เช่นงูเห่า จะจับง่ายกว่า เพราะมีอุปกรณ์ช่วยจับทำให้โอกาสพลาดมีน้อย” แนวทางปฏิบัติหากมีงูเข้าบ้าน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาจับ ไม่ควรจับเอง เพราะมีโอกาสโดนกัดได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับงู สามารถโทรสอบถามสายด่วน 199 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.